จำนวนคนดู

วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับ (welcome)

ยินดีต้อนรับเข้าสู่การเรียนรู้  โน๊ตขลุ่ยพื้นฐาน นาย วัชรพล พลาบัญช์

ประวัติเครื่อง ดนตรี ขลุ่ย

ขลุ่ย จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่า มีลิ้นทำด้วยไม้สักตัวขลุ่ยทำด้วยไม้รวกปล้องยาว ๆ เจาะทะลุข้อ แล้วใช้เชือกปอพันให้เป็นลวดลายแล้วเผาไฟให้เชือกปอไหม้ เมื่อเชือกปอไหม้หมดแล้ว ก็จะเกิดลวดลาย ตามที่เราได้พันเชือกปอไว้จากนั้นเจาะรูกลม ๆ เรียงแถวกัน ๗ รู ระยะห่างประมาณ ๑ นิ้ว ในแต่ละรูปิดเปิดเพื่อเปลี่ยนเสียง ผู้เป่าขลุ่ยจะใช้ริมฝีปากสัมผัสด้านล่างของลิ้น และเปิดริมฝีปากให้ลมเป่าผ่านเข้าไปในเลา ในปัจจุบันใช้วัสดุหลายอย่าง เช่น ใช้ท่อเอสล่อน (ท่อปะปา) หรือท่อพลาสติก และไม้แดง ไม้เต็ง ไม้รัง กลึงให้กลมเจาะรูทะลุ แต่ที่นิยมใช้กันมากและมีเสียงไพเราะจะต้องทำจากไม้รวก ส่วนวัสดุอื่นจะมีเสียงแข็งไม่พริ้ว

     ประวัติ ขลุ่ย เป็นเครื่องดนตรีที่มีมาแต่โบราณ นิยมใช้เป่าเพื่อความบันเทิงใจเป็นการส่วนตัวต่อมา จึงใช้ร่วมกับวงเครื่องสาย วงมโหรี และวงปี่พาทย์ จังหวัดที่นิยมบรรเลง ทุกจังหวัดในภาคกลางโอกาสที่บรรเลง งานมงคล งานเทศกาลต่างๆ และความบันเทิงเฉพาะตัว

ขลุ่ย นับว่าเป็นเครื่องดนตรีที่ใกล้ชิดกับคนไทยมากที่สุดชนิดหนึ่ง คนทั่ว ๆ ไปนิยมเป่าขลุ่ยมากกว่าเล่นดนตรีชนิดอื่น หรือแม้แต่คนในวงการ ดนตรีไทย ที่เล่นเครื่องดนตรีชนิดอื่นก็มักเป่าขลุ่ยด้วย เนื่องจากขลุ่ย เป็นเครื่องดนตรีที่สามารถนำติดตัวได้สะดวกเสียงไพเราะการหัดในเบื้องต้น ไม่สู้ยากนัก โดยทั่วไปคนมักเข้าใจว่าขลุ่ยนั้นเล่นง่าย แต่ความจริงแล้วสิ่งที่เราเห็นว่าง่ายที่สุดกลับเป็นสิ่งที่เล่นยากที่สุด คนที่เป่าขลุ่ยได้ดีในปัจจุบันจึงหาได้ยากนักดนตรีจึงขาดครูผู้แนะนำไปด้วย
        บทความนี้จึงมีจุดมุ่งหมายที่จะเป็นเครื่องชี้แนะต่อผู้ที่สนใจในเรื่องขลุ่ย โดยรวบรวมจากการสัมภาษณ์ คุณครูเทียบ คงลายทอง ซึ่งท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญการในเรื่องเครื่องเป่าโดยเฉพาะ แต่ในรายละเอียดบางหัวข้อ เช่น เรื่องของขลุ่ยเป็นเรื่องที่อธิบายด้วยภาษาพูดหรือ ภาษาเขียนได้ยาก นอกจากจะต้องฝึกหัดด้วยตนเองจึงจะรู้ ในที่นี้จึงต้องกล่าวแต่พอสังเขปเท่านั้น
ลักษณะขลุ่ยโดยทั่วไป
        ขลุ่ยเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้เป่าให้เกิดเสียง จะเป็นเครื่องดนตรีที่คนไทยคิดทำขึ้นเองหรือได้รับอิทธิพลจากชาติอื่น ไม่มีหลักฐาน ปรากฎแน่ชัด ชาติอื่น ๆ ก็มีเครื่องลักษณะเหมือนขลุ่ยของไทยเหมือนกัน เช่นของอินเดีย มุราลี ใช้เป่าด้านข้าง ของญี่ปุ่น ซากุฮาชิ ซึ่งเป่า ตรงเหมือนเป่าขลุ่ย นอกจากนี้ จีนก็มีขลุ่ยเช่นเดียวกัน คือ ฮวยเต็ก ซึ่งเป่าด้านข้างและ โถ่งเซียว ซึ่งเป่าตรงเหมือนขลุ่ยไทย มีรูนิ้วค้ำและสามารถทำได้เจ็ดเสียงเหมือนกัน โถ่งเซียวมีลักษณะ เรียบง่ายกว่าขลุ่ยไทย คือไม่มีดากการเป่าจะต้องผิวจึงจะเกิดเสียงดัง ระยะห่างของแต่ละเสียงก็เท่ากับขลุ่ยไทย เสียงของขลุ่ยเกิดจากลมที่เป่าผ่านดากและปากนกแก้ว ไม่ใช้ผิดเหมือนขลุ่ยของชาติอื่น การทำให้เสียงเปลี่ยนทำโดย ปิด-เปิด รูต่าง ๆ ที่อยู่บนเลาขลุ่ย และใช้ลมบังคับประกอบกันไป
        ขลุ่ยโดยทั่วไป ทำจากไม้ไผ่ ซึ่งเป็นไม้ไผ่เฉพาะพันธุ์เท่านั้น ปัจจุบันนี้ไม้ไผ่ที่ทำขลุ่ยส่วนใหญ่มาจากสระบุรี และนครราชสีมา นอกจากไม้ไผ่แล้วขลุ่ยอาจทำจากงาช้าง ไม้ชิงชัน หรือไม้เนื้อแข็งอื่น ๆ และปัจจุบันมีผู้นำพลาสติก มาทำขลุ่ยกันบ้างเหมือนกัน
        ในเรื่องคุณภาพนั้น ขลุ่ยที่ทำจากไม้ไผ่จะดีกว่าขลุ่ยที่ทำจากวัตถุอื่นเนื่องจากไม้ไผ่เป็นรูกระบอกโดยธรรมชาติมีผิวทั้งด้านนอก ด้านในทำให้ลมเดินสะดวก เมื่อถูกน้ำสามารถขยายตัวได้ สัมพันธ์กับดากทำให้ไม่แตกง่าย นอกจากนี้ผิวนอกของไม้ไผ่สามารถตกแต่งลาย ให้สวยงามได้ เช่น ทำเป็นลายผ้าปูม (ครูเทียบมีตัวอย่างให้ดู) ลายดอก ลายหิน ลายเกร็ดเต่า เป็นต้น อีกประการหนึ่งที่สำคัญคือ ไม้ไผ่มีข้อ โดยธรรมชาติ ซึ่งโดยทั่ว ๆ ไป จะเห็นว่าส่วนปลายของขลุ่ยด้านที่ไม่ใช้เป่านั้นมีข้อติดอยู่ด้วยแต่เจาะเป็นรูสำหรับปรับเสียงของนิ้วสุดท้ายให้ ได้ระดับ ส่วนของข้อที่เหลือจะทำหน้าที่อุ้มลมและเสียง ให้เสียงขลุ่ยมีความกังวานไพเราะมากขึ้น ซึ่งถ้าเป็นขลุ่ยที่ทำจากวัสดุอื่นโดยการกลึง ผู้ทำอาจไม่คำนึงถึงข้อนี้อาจทำให้ขลุ่ยด้อยคุณภาพไปได้ อีกประการหนึ่งส่วนของข้อนี้จะช่วยป้องกันมิให้ขลุ่ยแตกเมื่อสภาพของไม้หรือ อากาศมีการเปลี่ยนแปลง

ขลุ่ยเป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่า มักทำจากไม้รวก ไม้ชิงชัน ไม้พะยูง และงาช้าง แต่ที่ทำจากไม้รวกจะให้เสียงนุ่มนวล ไพเราะกว่า ขลุ่ยมี ๕ ชนิด คือ ขลุ่ยกรวด ขลุ่ยนก ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยหลีบ และขลุ่ยอู้ ขลุ่ยมีส่วนประกอบดังนี้
        - เลาขลุ่ย คือ ตัวขลุ่ย มีขนาดแตกต่างกันไปตามชนิดของขลุ่ย มักนิยมประดิษฐ์ลวดลายต่าง ๆ ลงบนตัวขลุ่ย เช่น ลายดอกพิกุล ลายหิน และลายลูกระนาด เป็นต้น * ถ้าเป็นขลุ่ยไม้ไผ่ นิยมจะทำลวดลายลงบนเลาขลุ่ย แต่ถ้าเป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ชิงชัน ไม้พยุง ไม้งิ้วดำ ฯลฯ จะไม่นิยมทำลายลงบนเลาขลุ่ย แต่อาจจะมีการลงรัก ประกอบมุก ประกอบงา แทน
        
- ดาก คือ ไม้อุดปากขลุ่ย นิยมใช้ในไม้สักทอง เหลากลมให้คับแน่นกับร่องภายในของปากขลุ่ย ฝานให้เป็นช่องว่าง ลาดเอียงตลอดชิ้นดาก ให้เป่าลมผ่านไปได้
        
- รูเป่า เป็นรูสำหรับเป่าลมเข้าไป
        
- รูปากนกแก้ว เป็นรูที่เจาะร่องรับลม จากปลายดากภายในขลุ่ย อยู่ด้านเดียวกับรูเป่า อยู่สุดปลายดากพอดี เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปากนกแก้วนี้ทำให้เกิดเสียง เทียบได้กับลิ้นของขลุ่ย
        
- รูเยื่อ เป็นรูสำหรับปิดวัสดุที่ทำให้เสียงสั่นพริ้ว มักใช้เยื่อไม้ไผ่ หรือเยื่อหัวหอมปิด อยู่ด้านขวามือ * ในปัจจุบัน หาขลุ่ยที่มีรูเยื่อไม่ค่อยได้แล้ว
        
- รูค้ำ หรือรูนิ้วค้ำ เป็นรูสำหรับให้นิ้วหัวแม่มือปิด เพื่อบังคับเสียง และประคองเลาขลุ่ยขณะเป่า อยู่ด้านล่างเลาขลุ่ย ต่อจากรูปากนกแก้วไปทางปลายเลาขลุ่ย
        
- รูบังคับเสียง เป็นรูที่เจาะเรียงอยู่ด้านบนของเลาขลุ่ย มีอยู่ ๗ รู ด้วยกัน
        
- รูร้อยเชือก มี ๔ รู หรือ ๒ รูก็ได้ อยู่ทางส่วนปลายของเลาขลุ่ย โดยการเจาะทะลุบน-ล่าง และ ซ้าย-ขวา ให้เยื้องกันในแต่ละคู่ * ช่างบางคนได้กล่าวไว้ว่า ความจริงจุดประสงค์หลักไม่ได้ไว้ร้อยเชือก ที่จริง ทำเพื่อให้เสียงของขลุ่ยได้ที่นั่นเอง

ชนิดของขลุ่ยไทย
โดยทั่วไปขลุ่ยไทยสามารถจำแนกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
1.ขลุ่ยหลิบ หรือ ขลุ่ยหลีก
2.ขลุ่ยเพียงออ
3.ขลุ่ยอู้
4.ขลุ่ยเคียงออ หรือ ขลุ่ยกรวด
5.ขลุ่ยรองออ
6.ขลุ่ยออร์แกน
7.ขลุ่ยนก

ขลุ่ยหลิบ หรือ ขลุ่ยหลีก เป็นขลุ่ยที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาขลุ่ยไทยมีความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร มีเสียงสูงกว่าขลุ่ยเพียงออเป็นคู่สี่ คือปิดหมดทุกนิ้วเป่าเป็นเสียงฟา นิยมใช้เป่าในวงมโหรีเครื่องคู่ เครื่องใหญ่ และวงเครื่องสายคู่ โดยเป็นเครื่องนำในวงเช่นเดียวกับระนาด หรือซอด้วง นอกจากนี้ยังใช้ในวงเครื่องสายปี่ชวา โดยบรรเลงเป็นพวกหลังเช่นเดียวกับซออู้

 ข้อมูลโดยทั่วไป ประเภท - เครื่องเป่า ชนิดเกิดเสียงในตัวลักษณะทางกายภาพ - ยาว 32-35 cm. กว้าง 2-2.5 cm. ลักษณะตรงส่วนต่างๆ ของขลุ่ย
- ตัวเลาขลุ่ย - เป็นส่วนประกอบทางกายภาพที่ใหญ่ที่สุด ในสมัยก่อนนิยมทำจากไม้ไผ่ เนื่องจากไม้ไผ่มีรูกลวงตรงกลาง และมีลักษณะกลมเป็นปกติโดยธรรมชาติแล้ว ปัจจุบันได้นำไม้จริงเช่น ไม้ชิงชัน ไม้พยุง ไม้สัก ไม้ดำดง ไม้พญางิ้วดำ ไม้มะริด ฯลฯ มาทำเลาขลุ่ย ปกติไม้ประเภทนี้จะตัน ดังนั้นผู้สร้างขลุ่ย จึงตรงนำไม้นั้นมากลึงให้กลมเป็นแท่งยาวๆ และทำการคว้านกลึงตรงกลาง ให้เป็นรูตลอดช่วงลำเลา งาช้าง บางท่านก็นำมาทำขลุ่ย แต่ราคาแพงมาก ปัจจบัน มีการนำพลาสติก มาทำขลุ่ย ซึ่งมีราคาถูก ผู้สนใจทั่วไปสามารถซื้อหากันได้ และใช้เป็นสำหรับขลุ่ยสำหรับผู้หัดเบื้องต้น- ดาก - เป็นตัวอุด อยู่ด้านบนของขลุ่ย ลักษณะกลมและคับแน่นกับร่องภายในของขลุ่ย เจาะรูเล็กๆ ลาดเอียงได้ระดับ เรียกว่า รูเป่า เพื่อให้ลมไปกระทบ และเกิดการหักเหที่รูปากนกแก้ว นิยมทำด้วยไม้สักทอง- รูเป่า - เป็นรูเล็ก ๆ อยู่บนสุดของลำเลาขลุ่ย ใช้ปากประกบและเป่าลมเข้าไป ทำให้เกิดเสียง- รูปากนกแก้ว - อยู่ด้านหลังของขลุ่ย เจาะรับลมจากปลายดากภายในขลุ่ย อยู่สุดปลายดากพอดี เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปากนกแก้วนี้ทำให้เกิดเสียง เทียบได้กับลิ้นของขลุ่ย- รูเยื่อ- เป็นรูสำหรับบิดวัสดุที่ทำให้เสียงสั่นพลิ้ว มักใช้เยื่อไม้ไผ่ หรือเยื่อหัวหอมปิด อยู่ด้านขวามือ ปัจจุบันขลุ่ยที่ทำออกมาไม่มีรูเยื่อ เพราะมีความยุ่งยากเวลาที่ต้องไปหาวัสดุที่มาปิดรูเยื่อ จึงปิดรูเยื่อตาย หรือไม่ทำรูเยื่อ จึงทำให้เสียงขลุ่ยไทยขาดคุณภาพลงไป ปัจจุบันยังมีการทำรูเยื่อที่ขลุ่ยอยู่ ถ้าต้องการก็ต้องสั่งช่างที่ทำขลุ่ยให้ทำให้- รูบังคับเสียง - เป็นรูที่อยู่บนลำเลาขลุ่ยใช้นิ้วปิด-เปิด เพื่อบังคับเสียง มีทั้งหมด 8 รู อยู่ด้านหน้าของขลุ่ย 7 รู และอยู่ด้านหลังอีก 1 รู เรียกว่า รูนิ้วค้ำ
- รูร้อยเชือก - มี ๔ รู อยู่ทางส่วนปลายของเลาขลุ่ย โดยการเจาะทะลุหน้า-หลัง และซ้าย-ขวา ให้เยื้องกันในแต่ละคู่ ความจริงรูดังกล่าวนี้ไม่ได้มีจุดประสงค์ในการร้อยเชือก แต่เจาะไว้เพื่อทำให้เสียงต่ำเป่าได้ เวลาเป่าจะไม่เพี้ยนหรือเสียงเสีย- ระดับเสียง - เสียงของขลุ่ยหลิบ ไล่ไปตั้งแต่ ฟา ซอล ลา ที โด(สูง) เร(สูง) มี(สูง) ฟา(สูง) ซอล(สูง) ลา(สูง) ที(สูง) โด(สูงมาก) เร(สูงมาก) มี(สูงมาก) ฟา(สูงมาก) ซอล(สูงมาก)( ตัวย่อ - ฟ ซ ล ท ดํ รํ มํ ฟํ ซํ ลํ ทํ ดํ2 รํ2 มํ2 ฟํ2 ซํ2)

ประวัติของขลุ่ยเพียงออ
                  ขลุ่ยเป็นเครื่องดนตรีดั้งเดิมของไทยชนิดหนึ่งแต่จะเป็นเครื่องดนตรีที่คนไทยคิดประดิษฐ์ขึ้นใช้เองหรือได้รับอิทธิพลจากชาติอื่นไม่มี
หลักฐานปรากฏแน่ชัด เพราะชาติอื่นก็มีเครื่องเป่าซึ่งมีลักษณะคล้ายกับขลุ่ยของคนไทยเหมือนกัน เช่น ขลุ่ยของญี่ปุ่นเรียก ซากุฮาชิซึ่งใช้เป่า เหมือน กับ ขลุ่ยไทย ขลุ่ยของอินเดียเรียก มุราลี ส่วนของจีนก็มีก็มีขลุ่ยเช่นเดียวกัน แต่ใช้เป่าด้านข้างเรียกว่า ฮวยเต็ก ถ้าเป็นแบบที่ใช้เป่า ตรงแบบขลุ่ยไทยจะเรียกว่า โถ่งเซียแต่จะต่างกันตรงที่ขลุ่ยของจีนไม่มีดากการเป่าต้องใช้การผิวลมจึงจะเกิดเสียง ขลุ่ยเป็นเครื่องดนตรี ที่ใช้เป่าให้เกิดเสียง จะเป็นเครื่องดนตรีที่คน ไทยคิดทำขึ้นเอง หรือได้รับอิทธิพลจากชาติอื่น ไม่มีหลักฐาน ปรากฎแน่ชัด ชาติอื่น ๆ ก็มีเครื่อง ลักษณะเหมือนขลุ่ยของไทยเหมือนกัน เช่นของอินเดีย มุราลี ใช้เป่าด้านข้าง ของญี่ปุ่น ซากุฮาชิ ซึ่งเป่า ตรงเหมือนเป่าขลุ่ย นอกจากนี้ จีนก็มีขลุ่ยเช่นเดียวกัน คือ ฮวยเต็ก ซึ่งเป่าด้านข้างและ โถ่งเซียว ซึ่งเป่าตรงเหมือนขลุ่ยไทย มีรูนิ้วค้ำ และสามารถทำ ได้เจ็ดเสียงเหมือนกัน โถ่งเซียวมีลักษณะ เรียบง่ายกว่าขลุ่ยไทย คือไม่มีดากการเป่าจะต้องผิวจึงจะเกิดเสียงดัง ระยะห่างของแต่ละเสียงก็เท่ากับขลุ่ยไทย เสียงของขลุ่ยเกิดจากลมที่เป่าผ่านดากและปากนกแก้ว ไม่ใช้ผิดเหมือนขลุ่ยของชาติอื่น การทำให้เสียงเปลี่ยนทำโดย ปิด-เปิด รูต่าง ๆ ที่อยู่บนเลาขลุ่ย และใช้ลมบังคับประกอบกันไป

                   ขลุ่ยโดยทั่วไป ทำจากไม้ไผ่ ซึ่งเป็นไม้ไผ่เฉพาะพันธุ์เท่านั้น ปัจจุบันนี้ไม้ไผ่ที่ทำขลุ่ยส่วนใหญ่มาจากสระบุรี และนครราชสีมา นอกจากไม้ไผ่แล้วขลุ่ยอาจทำจากงาช้าง ไม้ชิงชัน หรือไม้เนื้อแข็งอื่น ๆ และปัจจุบันมีผู้นำพลาสติก มาทำขลุ่ยกันบ้างเหมือนกัน ในเรื่อง คุณภาพนั้น ขลุ่ยที่ทำจากไม้ไผ่จะดีกว่าขลุ่ยที่ทำจากวัตถุอื่นเนื่องจากไม้ไผ่เป็นรูกระบอกโดยธรรมชาติมีผิวทั้งด้านนอก ด้านในทำให้ ลมเดินสะดวก เมื่อถูกน้ำสามารถขยายตัวได้ สัมพันธ์กับดากทำให้ไม่แตกง่าย นอกจากนี้ผิวนอกของไม้ไผ่สามารถตกแต่งลาย ให้สวยงามได้ เช่น ทำเป็นลายผ้าปูม ลายดอก ลายหิน ลายเกร็ดเต่า เป็นต้น อีกประการหนึ่งที่สำคัญคือ ไม้ไผ่มีข้อ โดยธรรมชาติ ซึ่งโดยทั่ว ๆ ไป จะเห็น ว่าส่วนปลายของขลุ่ยด้านที่ไม่ใช้เป่านั้นมีข้อติดอยู่ด้วยแต่เจาะเป็นรูสำหรับปรับเสียงของนิ้วสุดท้ายให้ ได้ระดับ ส่วนของข้อที่เหลือ จะทำหน้าที่ อุ้มลมและเสียง ให้เสียงขลุ่ยมีความกังวานไพเราะมากขึ้น ซึ่งถ้าเป็นขลุ่ยที่ทำจากวัสดุอื่นโดยการกลึง ผู้ทำอาจไม่คำนึงถึงข้อนี้อาจทำให้ขลุ่ย ด้อยคุณภาพไปได้ อีกประการหนึ่งส่วนของข้อนี้จะช่วยป้องกันมิให้ขลุ่ยแตกเมื่อสภาพของไม้หรือ อากาศมีการเปลี่ยนแปลง
                            ปัจจุบันขลุ่ยเป็นเครื่องดนตรีที่มีบทบาทสำคัญ วงดนตรีหลายประเภทจึงขาดขลุ่ยไม่ได้เลยทีเดียว เช่น วงมโหรี วงเครื่องสาย ชนิดต่างๆ วงปี่พาทย์ไม้นวม วงปี่พาทดึกดำบรรพ์ เป็นต้น เอกลักษณ์ที่สำคัญของขลุ่ยไทย คือการทำลายบนเลาขลุ่ย ให้เป็น ลวดลายต่างๆ ซึ่งการทำลายนั้นอาจมาจากใช้ความร้อนจากตะกั่วที่หลอมละลาย หรือการลนไฟ เป็นต้น เพื่อให้ขลุ่ยมีความสวยงาม มากยิ่งขึ้น เช่น ลายน้ำไหลลายหกขะเมน ลายหิน ลายผ้าปูม ลายดอกจิก เป็นต้น แต่ถ้าผิวของไม้ไผ่ที่นำมาทำขลุ่ยสวยอยู่แล้วอาจ ไม่ต้อง ทำลวดลายก็ได้

ขลุ่ยหลิบ หรือ ขลุ่ยหลีก เป็นขลุ่ยที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาขลุ่ยไทยมีความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร มีเสียงสูงกว่าขลุ่ยเพียงออเป็นคู่สี่ คือปิดหมดทุกนิ้วเป่าเป็นเสียงฟา นิยมใช้เป่าในวงมโหรีเครื่องคู่ เครื่องใหญ่ และวงเครื่องสายคู่ โดยเป็นเครื่องนำในวงเช่นเดียวกับระนาด หรือซอด้วง นอกจากนี้ยังใช้ในวงเครื่องสายปี่ชวา โดยบรรเลงเป็นพวกหลังเช่นเดียวกับซออู้

 ข้อมูลโดยทั่วไป ประเภท - เครื่องเป่า ชนิดเกิดเสียงในตัวลักษณะทางกายภาพ - ยาว 32-35 cm. กว้าง 2-2.5 cm. ลักษณะตรงส่วนต่างๆ ของขลุ่ย
- ตัวเลาขลุ่ย - เป็นส่วนประกอบทางกายภาพที่ใหญ่ที่สุด ในสมัยก่อนนิยมทำจากไม้ไผ่ เนื่องจากไม้ไผ่มีรูกลวงตรงกลาง และมีลักษณะกลมเป็นปกติโดยธรรมชาติแล้ว ปัจจุบันได้นำไม้จริงเช่น ไม้ชิงชัน ไม้พยุง ไม้สัก ไม้ดำดง ไม้พญางิ้วดำ ไม้มะริด ฯลฯ มาทำเลาขลุ่ย ปกติไม้ประเภทนี้จะตัน ดังนั้นผู้สร้างขลุ่ย จึงตรงนำไม้นั้นมากลึงให้กลมเป็นแท่งยาวๆ และทำการคว้านกลึงตรงกลาง ให้เป็นรูตลอดช่วงลำเลา งาช้าง บางท่านก็นำมาทำขลุ่ย แต่ราคาแพงมาก ปัจจบัน มีการนำพลาสติก มาทำขลุ่ย ซึ่งมีราคาถูก ผู้สนใจทั่วไปสามารถซื้อหากันได้ และใช้เป็นสำหรับขลุ่ยสำหรับผู้หัดเบื้องต้น- ดาก - เป็นตัวอุด อยู่ด้านบนของขลุ่ย ลักษณะกลมและคับแน่นกับร่องภายในของขลุ่ย เจาะรูเล็กๆ ลาดเอียงได้ระดับ เรียกว่า รูเป่า เพื่อให้ลมไปกระทบ และเกิดการหักเหที่รูปากนกแก้ว นิยมทำด้วยไม้สักทอง- รูเป่า - เป็นรูเล็ก ๆ อยู่บนสุดของลำเลาขลุ่ย ใช้ปากประกบและเป่าลมเข้าไป ทำให้เกิดเสียง- รูปากนกแก้ว - อยู่ด้านหลังของขลุ่ย เจาะรับลมจากปลายดากภายในขลุ่ย อยู่สุดปลายดากพอดี เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปากนกแก้วนี้ทำให้เกิดเสียง เทียบได้กับลิ้นของขลุ่ย- รูเยื่อ- เป็นรูสำหรับบิดวัสดุที่ทำให้เสียงสั่นพลิ้ว มักใช้เยื่อไม้ไผ่ หรือเยื่อหัวหอมปิด อยู่ด้านขวามือ ปัจจุบันขลุ่ยที่ทำออกมาไม่มีรูเยื่อ เพราะมีความยุ่งยากเวลาที่ต้องไปหาวัสดุที่มาปิดรูเยื่อ จึงปิดรูเยื่อตาย หรือไม่ทำรูเยื่อ จึงทำให้เสียงขลุ่ยไทยขาดคุณภาพลงไป ปัจจุบันยังมีการทำรูเยื่อที่ขลุ่ยอยู่ ถ้าต้องการก็ต้องสั่งช่างที่ทำขลุ่ยให้ทำให้- รูบังคับเสียง - เป็นรูที่อยู่บนลำเลาขลุ่ยใช้นิ้วปิด-เปิด เพื่อบังคับเสียง มีทั้งหมด 8 รู อยู่ด้านหน้าของขลุ่ย 7 รู และอยู่ด้านหลังอีก 1 รู เรียกว่า รูนิ้วค้ำ
- รูร้อยเชือก - มี ๔ รู อยู่ทางส่วนปลายของเลาขลุ่ย โดยการเจาะทะลุหน้า-หลัง และซ้าย-ขวา ให้เยื้องกันในแต่ละคู่ ความจริงรูดังกล่าวนี้ไม่ได้มีจุดประสงค์ในการร้อยเชือก แต่เจาะไว้เพื่อทำให้เสียงต่ำเป่าได้ เวลาเป่าจะไม่เพี้ยนหรือเสียงเสีย- ระดับเสียง - เสียงของขลุ่ยหลิบ ไล่ไปตั้งแต่ ฟา ซอล ลา ที โด(สูง) เร(สูง) มี(สูง) ฟา(สูง) ซอล(สูง) ลา(สูง) ที(สูง) โด(สูงมาก) เร(สูงมาก) มี(สูงมาก) ฟา(สูงมาก) ซอล(สูงมาก)( ตัวย่อ - ฟ ซ ล ท ดํ รํ มํ ฟํ ซํ ลํ ทํ ดํ2 รํ2 มํ2 ฟํ2 ซํ2)


ขลุ่ยอู้ เป็นขลุ่ยที่มีขนาดใหญ่มีความยาวประมาณ 60 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4 เซนติเมตร เสียงต่ำกว่าขลุ่ยเพียงออสามเสียง คือปิดหมดทุกรูเป็นเสียงซอล นิยมใช้ในเครื่องปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ซึ่งเป็นดนตรีที่มีระดับเสียงต่ำ แต่ในปัจจุบันไม่ค่อยได้ใช้เนื่องจากหาคนที่มีความชำนาญในการเป่าได้ยาก
ขลุ่ยเคียงออ หรือ ขลุ่ยกรวด เป็นขลุ่ยที่มีขนาดใหญ่กว่าขลุ่ยหลิบแต่เล็กกว่าขลุ่ยเพียงออ มีความยาวประมาณ 40 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2.2 เซนติเมตร ระดับเสียงสูงกว่าขลุ่ยเพียงออหนึ่งเสียง แต่ในปัจจุบันไม่ค่อยนิยมมากนัก

.ขลุ่ยนก ขลุ่ยชนิดนี้ใช้เป่าเป็นเพลงไม่ได้ เพราะมีเสียงไม่ครบเสียงดนตรี จึงใช้เป่าเป็นเสียงนกประกอบเพลงที่มีเสียงนก เช่น เพลงตับนก แม่ศรีทรงเครื่อง เป็นต้น ขลุ่ยนกมี 3 ชนิดได้แก่.1 ขลุ่ยนกกางเขน ไม่มีรูนับเสียงรูปร่างลักษณะเป้นกระบอกไม้รวก ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร กว้างประมาณ 3 เซนติเมตร และมีหลอดไม้ซางกลมๆ ขนาดพอๆ กับหลอดกาแฟ เป็นที่เป่าเสียบติดทะลุด้านข้างด้านหนึ่งของกระบอกเสียง เวลาเป่าต้องใส่น้ำลงในกระบอกให้ปลายหลอดส่วนล่างอยู่ในน้ำจึงจะเกิดเสียง2 ขลุ่ยนกโพระดก หรือ ขลุ่ยโฮกป๊ก ไม่มีรูนับเสียงเช่นเดียวกับขลุ่ยนกกางเขนรูปร่างลักษณะเป็นกระบอกไม้รวก ยาวประมาณ 18 เซนติเมตร กว้างประมาณ 5 เซนติเมตร เวลาเป่าต้องใช้ฝ่ามืออีกข้างหนึ่งอุดปลายส่วนล่างไว้จึงจะเป่าเป็นเสียง "โฮกป๊ก"3 ขลุ่ยนกกาเหว่า มีลักษณะเหมือนกับขลุ่ยเพียงออทุกประการ ถ้านำมาตัดเป็น 2 ท่อนให้เหลือรูนับไว้ 4 รูบน ก็จะได้ขลุ่ยนกกาเหว่า เวลาเป่าจะเป็นเสียง "กาเหว่า" ขั้นแรกเอานิ้วมือปิดรูนับทั้ง 4 รู และปิดนิ้วหัวแม่มือที่อยู่ด้านล่าง แล้วเป่าจะได้เสียง "กา" และหากเปิดนิ้วชี้บน นิ้วกลางบน นิ้วนางบน และนิ้วหัวแม่มือด้านล่าง พร้อมกับเป่าก็จะได้เสียง "เหว่า" เป็น "กาเหว่า"                                                                                    


ที่มา
http://pugunkaframe.igetweb.com/index.php?lite=article&qid=42083043